Loading...

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 (สระบุรี)

Environment and Pollution Control Office 7 (saraburi)

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ประวัติของ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7

                 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) หรือ สสภ.7 (สระบุรี) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สป.ทส.)   มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ “ลุ่มน้ำป่าสัก” (ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี) พื้นที่ “ลุ่มน้ำนครนายก” (ต้นน้ำอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี  ไหลผ่านจังหวัดนครนายก)รวมทั้ง“ลุ่มน้ำปราจีนบุรี” (ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรีไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี) มีภารกิจในการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาค จัดทำระบบฐานข้อมูล ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน สนับสนุนด้านวิชาการและส่งเสริมศักยภาพ การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังมลพิษสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและสร้างเครือข่าย รวมทั้งพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นจากการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2545  และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2545 กำหนดให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 ให้เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและเป็นส่วนราชการระดับกอง โดยมีการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 12 สังกัดสำนักงานโนบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมกับศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 1 - 12 (เฉพาะภารกิจสิ่งแวดล้อม) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งเป็น “สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16”

                   และตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 1169/2560 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เรื่อง การกำหนดจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 สืบเนื่องจากรัฐบาล  ได้มีการกำหนดแนวเขตพื้นที่ระดับภาค ทั้ง 6 ภาค ในการพัฒนาประเทศระดับพื้นที่ภูมิภาคในมิติต่าง ๆทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือนโยบายของรัฐบาลสามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนซ้ำซากของพื้นที่

                  ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศระดับพื้นที่ภูมิภาค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้กำหนดจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 ดังนี้

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) 

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และลำพูน

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 (ลำปาง)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 (พิษณุโลก)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์  สุโขทัย และเพชรบูรณ์

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 (นครสวรรค์)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร  อุทัยธานี และพิจิตร

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 (นครปฐม)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ นครปฐม ชัยนาท  สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 (นนทบุรี)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ นนทบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี )

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ สระบุรี ลพบุรี  นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 (ราชบุรี )

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ ราชบุรี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (อุดรธานี )

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ อุดรธานี เลย  หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และหนองบัวลำภู 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 (นครราชสีมา)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 (อุบลราชธานี)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ อุบลราชธานี  ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่  ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา  ระยอง จันทบุรี  ตราด และสมุทรปราการ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สุราษฎร์ธานี)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร พัทลุง และนครศรีธรรมราช

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 (ภูเก็ต)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และระนอง

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา)

พื้นที่รับผิดชอบได้แก่  สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

รายนามผู้อำนวยการศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 2 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

1.นายมงคล โฉมงาม 

2.นายประทีป ศิริโพธิ์

3.นายอุทิศ เกิดเพียร

4.นายองอาจ ชนะชาญมงคล

รายนามผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) สำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ

1.นางสาวกฤษณา เชยพันธุ์ (พ.ศ.2545 - พ.ศ.2549)  (สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

2.นายภูวพล ภานุมาศเมธี (พ.ศ.2549 - พ.ศ.2554)

3.นางสาวจารุภา  อยู่พูล  (พ.ศ.2554 - พ.ศ.2558)

4.นางประนอม ปิยะสาธุกิจ (พ.ศ.2558 - พ.ศ.2562)

5.นายปิยะ  พรหมสถิต (เดือนมิถุนายน พ.ศ.2562 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563)

6.นางศิริวรรณ สุดาจันทร์ (เดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ.2563)

7.นายนรภัทร (สวง) สุดประเสริฐ (พ.ศ.2563 - กันยายน พ.ศ.2564) 

8.นายธีระพงษ์ วิมลจิตรานนท์ ( ตุลาคม พ.ศ.2564 - กรกฎาคม พ.ศ.2565) 

รายนามผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 (สระบุรี) กรมควบคุมมลพิษ

1.นายธีระพงษ์ วิมลจิตรานนท์ (20 กรกฎาคม พ.ศ.2565 -ปัจจุบัน)

เอกสารแนบ

กฎ กระทรวง คพ

ขนาดไฟล์:0.13 Mb | ประเภทไฟล์: .PDF | ดาวน์โหลด: 285 ครั้ง

คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 1169_2560

ขนาดไฟล์:0.08 Mb | ประเภทไฟล์: .PDF | ดาวน์โหลด: 286 ครั้ง